พายุดีเปรสชันเขตร้อน ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562

รายการพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูงสุดเป็นเพียงพายุดีเปรสชัน โดยอาจเป็นพายุที่มีรหัสเรียกตามหลังด้วยตัวอักษร W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม หรืออาจได้รับชื่อท้องถิ่นจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) แต่ไม่ถูกตั้งชื่อตามเกณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวระบุเพียงแต่คำว่า TD (Tropical Depression) หรือพายุดีเปรสชันเท่านั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 01W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา4 – 22 มกราคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1004 mbar (hPa; 29.65 inHg)

ชื่อของ PAGASA: อามัง

วันที่ 4 มกราคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับให้พื้นที่การแปรปรวนของลมในเขตร้อน ที่อยู่ทางตอนเหนือของไบรีกีเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และให้รหัสว่า 01W และคาดว่าจะมีการทวีกำลังแรงขึ้นได้บ้าง[94] แต่พายุดีเปรสชันเขตร้อนนั้นล้มเหลวในการก่อตัว ทำให้ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมปรับมันลงเป็นการแปรปรวนของลมในเขตร้อนดังเดิมในวันที่ 6 มกราคม[95] ระบบยังคงเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการพัฒนาขึ้น เป็นเวลาถึงสองสัปดาห์ กระทั่งวันที่ 19 มกราคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับให้หย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ขณะที่ระบบอยู่ห่างจากปาเลาไปทางตะวันตกประมาณ 200 กม.[96]

พายุดีเปรสชันเป็นตัวกระตุ้นโดยตรงให้เกิดดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากในจังหวัดซีลางังดาเบาและจังหวัดฮีลากังอากูซัน ประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 9 คน สูญหายอีก 1 คน[97][98] และสร้างความเสียหายทางการเกษตรขึ้น 216.49 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (4.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 130 ล้านบาท)[99]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 03W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา14 – 19 มีนาคม
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1006 mbar (hPa; 29.71 inHg)

ชื่อของ PAGASA: เชเดง

  • วันที่ 14 มีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 03W ก่อตัวขึ้นเหนือสหพันธรัฐไมโครนีเซีย ต่อมาระบบเคลื่อนตัวต่อไปทางตะวันตกพร้อมกับการจัดระเบียบขึ้น
  • วันที่ 17 มีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของ PAGASA ในทะเลฟิลิปปิน ทางสำนักงานฯ จึงให้ชื่อกับพายุว่า เชเดง (Chedeng) เพียงไม่นานก่อนที่พายุจะพัดขึ้นฝั่งในปาเลา
  • วันที่ 19 มีนาคม เวลา 05.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นฟิลิปปินส์ เชเดงพัดขึ้นฝั่งในเทศบาลมาลีตา จังหวัดคันลูรังดาเบา[100] เชเดงอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วหลังจากพัดประเทศฟิลิปปินส์ และอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในที่สุด
  • วันที่ 20 มีนาคม เศษที่หลงเหลือของเชเดงยังคงอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่องและเคลื่อนตัวต่อไปทางตะวันตก และไปสลายตัวลงทางตอนใต้ของทะเลซูลู

ความเสียหายด้านโครงสร้างพื้นฐานในเขตดาเบาอยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (23,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 7.2 แสนบาท)[101]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา7 – 11 พฤษภาคม
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1004 mbar (hPa; 29.65 inHg)
  • วันที่ 2 พฤษภาคม หย่อมความกดอากาศต่ำเขตร้อนก่อตัวขึ้นเหนือเกาะแยป
  • วันที่ 7 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นปรับให้หย่อมความกดอากาศต่ำเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 8 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นปรับให้พายุดีเปรสชันเขตร้อนลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ และออกคำแนะนำสุดท้ายกับระบบ
  • วันที่ 10 พฤษภาคม ระบบกลับมาเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนอีกครั้งขณะที่อยู่ทางตะวันออกของเกาะมินดาเนา
  • วันที่ 11 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนเริ่มอ่อนกำลังลงอีกครั้ง หลังจากเผชิญหน้ากับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยขณะเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก ต่อมา JMA จึงปรับให้ระบบลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำอีกครั้ง

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา7 – 15 พฤษภาคม
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1004 mbar (hPa; 29.65 inHg)
  • วันที่ 7 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหพันธรัฐไมโครนีเซีย
  • วันที่ 8 พฤษภาคม ระบบเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก
  • วันที่ 9 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนเริ่มอ่อนกำลังลงบ้าง

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา10 – 11 พฤษภาคม
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1008 mbar (hPa; 29.77 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา26 มิถุนายน
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)

วันที่ 26 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตรวจพบพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นบริเวณทะเลจีนตะวันออก ใกล้กับเกาะรีวกีว ระบบมีการจัดระเบียบอย่างช้า ๆ ขณะเคลื่อนตัสไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตาม ระบบพายุเผชิญเข้ากับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยในวันดังกล่าว และอ่อนกำลังลงเป็นความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือในเวลา 18:00 UTC ในวันเดียวกัน ขณะที่อยู่ใกล้กับคาบสมุทรเกาหลี

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 04W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา27 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1002 mbar (hPa; 29.59 inHg)

ชื่อของ PAGASA: เอไก

  • วันที่ 27 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะมาเรียนา ต่อมาในเวลา 09:00 UTC หรือ 21:00 น. ตามเวลาในประเทศฟิลิปปินส์ พายุได้เคลื่อนตัวเข้าไปในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ในทะเลฟิลิปปิน แต่ PAGASA ยังไม่ได้จัดให้ระบบเป็นพายุหมุนเขตร้อนในขณะนั้น
  • วันที่ 28 มิถุนายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกคำแนะนำแรกกับระบบ และให้รหัสเรียกว่า 04W
  • วันที่ 29 มิถุนายน PAGASA จัดให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และให้ชื่อว่า เอไก (Egay) ซึ่งต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็จัดให้พายุนี้เป็นพายุโซนร้อนด้วย
  • วันที่ 30 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนเผชิญกับลมเฉือนที่พัดแรงในทะเลฟิลิปปิน และเริ่มอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วหลังจากนั้น
  • วันที่ 1 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนสลายตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะลูซอน โดยทั้งสามหน่วยงานต่างออกคำเตือนสุดท้ายให้แก่ระบบ

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา17 – 19 กรกฎาคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
996 mbar (hPa; 29.41 inHg)

ชื่อของ PAGASA: โกริง

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา6 – 8 สิงหาคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
996 mbar (hPa; 29.41 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา17 – 18 สิงหาคม
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1006 mbar (hPa; 29.71 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา19 – 21 สิงหาคม
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1004 mbar (hPa; 29.65 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา1 – 3 กันยายน
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
998 mbar (hPa; 29.47 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา4 – 5 กันยายน
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1006 mbar (hPa; 29.71 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา7 – 9 กันยายน
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันในร่องมรสุม
ระยะเวลา10 – 13 กันยายน
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
996 mbar (hPa; 29.41 inHg)

ชื่อของ PAGASA: แมริลิน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา15 กันยายน
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
996 mbar (hPa; 29.41 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา17 – 18 กันยายน
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1008 mbar (hPa; 29.77 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา1 – 3 ตุลาคม
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1008 mbar (hPa; 29.77 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา22 ตุลาคม
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1006 mbar (hPa; 29.71 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา22 – 23 พฤศจิกายน
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1010 mbar (hPa; 29.83 inHg)

วันที่ 22 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนกำลังอ่อนที่ก่อตัวขึ้นจากพลังที่เหลือของพายุไต้ฝุ่นคัลแมกี ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา26 – 28 พฤศจิกายน
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1002 mbar (hPa; 29.59 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา29 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1002 mbar (hPa; 29.59 inHg)

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2564 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 http://fj.people.com.cn/n2/2019/0825/c181466-33285... http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://www.china.org.cn/china/2019-08/12/content_7... http://bbs.typhoon.org.cn/read.php?tid=78666&fid=5... http://thoughtleadership.aonbenfield.com//Document... http://thoughtleadership.aonbenfield.com//Document... http://www.asahi.com/ajw/articles/AJ201907210031.h... http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200... http://www.jejunews.com/news/articleView.html?idxn...